วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


    ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากการทำปฏิทินยังไม่สมบูรณ์จึงต้องมาทำเพิ่มเติม และเเก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้ได้จริง
จากนั้นก็ได้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ไปประดิษฐ์มา กลุ่มดิฉันได้ประดิษฐ์

"โดมิโนรูปเรขาคณิต"

อุปกรณ์ที่ใช้
-กระดาษเเข็ง
-รูปเรขาคณิตแบบต่างๆ
-กาว กรรไกร คัตเตอร์ กาวสองหน้า

วิธีการทำ
-ตั้ดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าให้มีขนาด ยาว 6 ซม. กว้าง 3 ซม.
- แล้วปริ้นรูปเรขาคณิตมาติดทั้งสองด้านให้มีลักษณะเป็นโดมิโน
- แล้วนำที่เคลือบมาเคลือบอีกชั้นนึง เพื่อเพิ่มความทนทานให้กับสื่อ

วิธีการเล่น
- ให้นำรูปที่เหมือนกันมาต่อในด้านที่เหมือนกัน เล่นในลักษณะของเกมโดมิโน

*เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตว่ามีลักษณะอย่างไร และเด็กยังจะสามารถได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจับคู่รูปภาพที่เหมือนกัน*

การนำไปประยุกต์ใช้

เนื่องจากสื่อนี้ยังไม่ได้ทำการนำเสนอจึงยังไม่ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ประจำวิชา

การประเมินผล

ตนเอง: เราได้ช่วยเพื่อนๆประดิษฐ์สื่อโดยการตัดการดาษ ติดกาว และเคลือแผ่นใส

เพื่อน: เพื่อนๆได้ช่วยกันทำสื่อจนเสร็จ แล้วก็นำสื่อไปเสนออาจารย์ประจำวิชา

อาจารย์: อาจารย์จะคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำสื่อว่ามีลักษณะอย่างไร เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหรือไม่อย่างไร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


    ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเป็นคนสอนและให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก  ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้
วันจันทร์ หน่วยการเรียนรุ้เรื่อง กระเป๋า(ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน(ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหะนะ(การดูเเลรักษายานพาหะนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย(ประโยชน์ของกระต่าย)
วันศุกร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ(ข้อพึงระวังของเสื้อ)

การนำไปประยุกต์ใช้

แผนการสอนของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลาย และได้เห็นแนวการสอนของแต่ละกลุ่มที่ได้ทดลองสอนจริง และอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงเเก้ไขเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ตนเอง: เราได้เป็นตัวแทนกลุ่มที่ออกไปสอน ได้มีการเตรียมการสอนเพื่อที่จะได้สอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เพื่อน: เพื่อนได้ช่วยกันเตรียมสื่อเพื่อใช้ประกอบการสอน

อาจารย์: อาจารย์ได้แนะนำการสอนและได้ให้ข้อคิดต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ประจำวัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


    ประจำวัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของตนเองที่ได้ไปไปค้นคว้ามาแล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ว่าสื่อชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่ ว่าเเต่ละชิ้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และสามารถนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างไร

หลังจากที่นำเสนอสื่อครบแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ 

อาจารย์ได้ให้ตอบคำถามจำนวน 4 ข้อ ดังนี้
- การนับ
-การเเยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
-การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่่
-การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่าน้อยกว่า

การนำไปประยุกต์ใช้

สื่อคณิตศาสตร์ บทความ งานวิจัย วีดีโอการสอน และการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนในห้องเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และการเป็นครูในอนาคต

การประเมินผล

ตนเอง: เวลาที่เพื่อนนำเสนอสื่อก็สนใจฟังเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน: เพื่อนก็ได้เตรียมตัวนำเสนอสื่อที่ตนเองได้ไปค้นคว้ามา

อาจารย์: อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอเเนะว่าสื่อชิ้นใดเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


    ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แนะนำเกมการศึกษาที่สามารถนำจากแบบฝึกหัดแล้วทำขึ้นมาให้เป็นเกมที่สามารถจับต้องได้ เช่น
1. จับคู่
-จับคู่ภาพเงา
-จับคู่ประเภทเดียวกัน
-จับคู่สิ่งที่เหมือน
2. เกมภาพตัดต่อ เกี่ยวกับ คน สัตว์ ผัก ผลไม้ ตัวเลข เป็นต้น
3. เกมวางภาพต่อปลาย(โดมิโน)
4.เกมลอตโต

การนำไปประยุกต์ใช้
 นำเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆมาประยุกต์เป็นคณิตศาสตร์ แล้วนำแนวคิดจากแบบฝึกหัดนำมาสร้างเป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ 

การประเมินผล

ตนเอง: สนใจสื่อที่อาจารย์นำมาเสนอเพราะเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำสื่อในอนาคต

เพื่อน: เพื่อนบางคนก็สนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนสอน เเต่เพื่อนบางคนก็ยังไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมคณิตศาสตร์ให้ได้อย่างเข้าใจและเเนะนำวิธีการทำสื่ออย่างชัดเจน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 ประจำวัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


    ประจำวัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย         อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
- ด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหวร่างกาย
- ด้านอารมณ์-จิตใจ สามารถรับรู้ความรู้สึกที่แสดงออกทางอารมณ์
- ด้านสังคม การช่วยเหลือตนเองได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
- ด้านสติปัญญา ภาษา(การฟัง พูด อ่าน เขียน) คิด (สร้างสรรค์และมีเหตผล)

สาระที่เด็กควรเรียนรู้ :ประสบการณ์ที่สำคัญ
- ตัวเรา
-บุคคล สถานที่
-ธรรมชาติรอบตัว
-สิ่งเเวดล้อม
*โดยต้องคำนึกถึงเรื่องที่เด็กสนใจ เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นเรื่องที่สำคัญกับเด็ก*

การประยุกต์ใช้

การจัดกิจกรรม 6 หลัก ได้จะต้องมีการวางแผน เขียนแผนก่อนที่จะนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กเพื่อวางรากฐานในอนาคต

การประเมินผล

ตนเอง: สนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นบางครั้ง แต่ก็มีการจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน: เพื่อนบางคนให้ความสนใจในการเรียนเป็นบางส่วน บางส่วนก็ไม่ได้สนใจเรียนเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์ผู้สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา มีแนวการสอนที่สามารถให้ความรู้แก่นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


    ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

** เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดภาระกิจจึงมีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียน**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ประจำวัน พุธ ที่ 15เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์เเจกกระดาษให้ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปทรงต่างๆ ในลักษณะสองมิติ  จากนั้นให้ทำเป็นรูปสามมิติแล้วนำรูปของตนเองไปประกอบกับเพื่อนอีก 1 คน แล้วสร้างขึ้นมาเป็นรูปทรงใหม่ จากนั้นนำไปวางไว้ในชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต ว่าเเต่ละเเบบมีความแตกต่างกันอย่างไร 

การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำไปสอนเด็ก เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต และสามารถได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง รวมถึงการนับและการแทนค่า

การประเมินผล

ตนเอง: มีการทำกิจกรรมซึ่งทำให้เรามีความสนุกสนานมากกว่าการเรียนเเบบธรรมดา

เพื่อน: เพื่อนชอบการทำกิจกรรมมากกว่าการนั่งฟังแบบธรรมดา เพราะทำให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

อาจารย์: อาจารย์จะหากิจกรรมต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำอยู่เสมอ ทำให้การสอนไม่น่าเบื่อ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


    ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตราฐาน ค.ป. 4.1


การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับ สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตราฐาน ค.ป. 1.1

ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีปากกาและดินสออยู่ทั้งหมด 10 แท่ง จะใช้เกณฑ์ว่า สิ่งที่สามารถใช้ยางลบ ลบได้ เด็กจะสังเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่าดินสอมีจำนวนมากกว่าจำนวนปากกา

**สื่อที่ควรจะใช้ได้หลายครั้ง และมีความทนทาน**

มีงานให้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน และเเบ่งเป็นการสอนทั้งหมด 5 วัน โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับตัวเด็ก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ และต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และต้องสอดคล้องกับมาตราฐานการเรียนรู้

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียนบ้างคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ยังสนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอน เวลามีข้อสงสัยก็ได้ถามเพื่อแก้ไขข้อสงสัยทันที

เพื่อน: เพื่อนบางคนก็มีการตอบคำถามอาจารย์บ้าง แต่บางคนก็ไม่ได้สนใจในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอน สอนเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่      มีเเนวการสอนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่7 วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ในสัปดาห์นี้เป็นการเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดงโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
• ความรู้ที่ได้รับ

1. การเรียนแบบ Project Approach
- เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
- หลักการ STEM
คือ S = วิทยาศาสตร์ ( กระบวนการทำ ดังนี้ สำรวจปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ )
      T = เทคโนโลยี ( การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรม )
      E = การออกแบบ ( การวางแผน การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม )
      M = คณิตศาสตร์ ( การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติกิจกรรม เช่น การตวงส่วนผสม )
- ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงพระราชทานเมนู
" ไข่พระอาทิตย์  "ให้กับพระโอรสและพระธิดา
- การเรียนแบบ โปรเจค นั้นต้องใช้เวลาในการเรียนเป็นแบบระยะยาว เนื่องจากเด็กจะได้ศึกษาเรื่องราวที่ต้องการศึกษาจนถ่องแท้ ต้องศึกษาหาคำตอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และ คอยอำนวยความสะดวกให้

2. สื่อนวัตกรรมการศึกษา
- สื่อมอนเตสเซอรี่
มีดังนี้ คือ 1) ภาษา : เริ่มจากการให้เด็กใช้การสัมผัส
                2) ชีวิตประจำวัน : ฝึกทักษะต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับ
                3) คณิตศาสตร์ : เน้นทักษะการแก้ปัญหาและต้องแก้จนสำเร็จจึงจะเปลี่ยนสื่อได้
- สื่อการสอน : มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่หน่วยการเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็ก ครูต้องดูความเหมาะสมในด้านต่างๆทั้ง วัย พัฒนาการ และ ความปลอดภัย
- สื่อที่มีคุณภาพ คือ ต้อวผ่านการเล่นของเด็ก

3. แผนการจัดการเรียนรู้
- แผนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสังกัดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดรัฐบาล โรงเรียนสังกัด สพฐ.
- ในการจัดการเรียนรู้ 1 วัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก แต่ละกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ และต้องมีการบูรณาการทักษะต่างๆสอดแทรกลงไปมนทั้ง 6 กิจกรรม
- แผนการสอนในแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาทักษะที่ต่างกัน เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง เน้นพัฒนาร่างกาย
กิจกรรมเกมการศึกษา เน้นพัฒนาด้านสติปัญญา

4. วิจัย
* เนื่องจากวันที่เข้าชมนิทรรศการ ฐานวิจัย ยังไม่พร้อมที่จะให้ความรู้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมตัว จึงไม่มีข้อมูลที่บันทึก

• การประเมินผล
ตนเอง : มีความสนใจในฐาน การสอนแบบโปรเจค เนื่องจากมีการวางโครงการ และขั้นตอนต่างๆอย่างเห็นได้ชัด มีการสาธิตวิธีการสอนที่เหมือนจริง จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ

อาจารย์ : มีการสรุปองค์ความรู้จากการเข้าชมนิทรรศการ ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 6วัน พุธ ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6วัน พุธ ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
• ความรู้ที่ได้รับ

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(ต่อจากคาบที่แล้ว)
1.1 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต  ที่เกิดจากการกระทำ
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
: การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
: ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
: รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
: การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
: การสร้างสรรค์ศิลปะสองมิติและสามมิติ

1.2 สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
- การเก็บรวบรวมและการนำเสนอ
: การนำเสนอข้อมูลรูปแผนภูมิอย่างง่าย
1.4 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

• การประเมินผล
ตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆในการเรียน มีการจดบันทึกและร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างตั้งใจ

อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ อยู่ตลอดเวลา มีบางครั้งพูดเร็วทำให้ฟังไม่ทันบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 5  วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
- สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
    มีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
1. ความรู้ทางกายภาพ(Physical Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตุ การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. ความรู้ทางสังคม(Social Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์(Logicaimathematic Knowledge) การเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆจากการสังเกตุ สำรวจ ทดลอง เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
4. ความรู้เชิงสัญลักษณ์(Symbonic Knowledge) การแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน

- สาระเเละมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
   ➤ มาตราฐานเป็นแบบประเมินขั้นต่ำ ใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินงาน(มาตราฐาน ค.ป.1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
  จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณได้
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
- การเรียงลำดับจำนวน
   การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
          การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
- ความหมายของการจำแนก
           การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
สาระที่ 2   การวัด (มาตราฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง...ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง     ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ    

เพลง...นกกระจิบ
นั้นนก    บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ    1 2 3 4 5           
อีกฝูงบินล่องลอยมา     6 7 8 9 10 ตัว                     



การประเมิน

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงได้ทำการสอบถามข้อมูลจากเพื่อนที่เข้าเรียน เมื่อได้ข้อมูลก็นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำองค์ความรู้ที่ได้

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ในช่วงเเรกอาจจะยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คบ้าง แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ภายในห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์

### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###

การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 4  วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน


    วันนี่การเรียนการสอนมีความเป็นกันเองมากขึ้น ครูผู้สอนได้เริ่มต้นการสอนด้วยการให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทความ คลิปวิดีโอ และผลงานวิจัดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เกิดองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- ความหมายของคณิตศาสตร์
- ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
- เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- ความหมายของคณิตศาสตร์  
          คือ วิชาที่ว่าด้วยการคำนวนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับ การคำนวน การประมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเอง แล้วจึงค่อยๆพัฒนามาเป็นความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

-  ความสำคัญของคณิตศาสตร์
           คือ คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นการคิดที่เกี่ยวกับเหตุและผลสามารถพิสูจน์ได้ ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างสรรค์ให้เกิดความรอบครอบสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

- ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
           คือ คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กแล้วนำความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของเด็กเองได้

- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
          คือ  การนับ การจับคู่ การแบ่งประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ รูปทรง การวัด เซต เศษส่วน การทำตามแบบหรือลวดลาย การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
   ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
           เป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักการเเก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวนและอื่นๆ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น    รู้จักการสังเกตุ การเปรียบเทียบ ซึ่งจะช่วยขยายประสบการณ์ของเด็กที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็ดเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง...นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน    มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว     มือขวาก็มีห้านิ้ว  
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า             ต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ                นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง...ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป    นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับลดลงเรื่อยๆ)

เพลง...แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ได้มีการจดเนื้อหาที่ครูผู้สอนได้สอน มีการวิเคราะห์คำถามที่ครูผู้สอนถาม และมีการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่หันหน้าไปคุยกับเพื่อนที่นั่งด้านข้างบ้าง และเมื่อเกิดข้อสงสัยใดก็จะถามอาจารย์ผู้สอนทันที

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม และเมื่อนักศึกษาคนใดเกิดข้อสงสัยอาจารย์ผู้สอนก็จะอธิบายทันทีเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน เกิดปัญหาจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำให้ข้อมูลบางข้อมูลที่อาจารย์ผู้สอนต้องการค้นหานั้นทำได้ยาก

วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 3  วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30


ความรู้ที่ได้รับ

   การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
→ การนับ
→จับคู่ 1ต่อ1
→ เปรียบเทียบรูปทรง
→ เรียงลำดับ
→ จับกลุ่ม
 สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องมีความปลอดภัยและเหมาะสมกับการเรียนรู้


➤ เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)
     ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้แบ่งเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ ดังนี้
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enavtive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage) สร้างมโนภาพในใจได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic Stage) เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

➤เลฟ ไวก๊อตกี้ (Lev Vygotsky) 
     "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุนและเพิ่มพัฒนาการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ(Internalize)"
- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มี สมรรถนะ(Competency)
- "นั่งร้าน"(Scaffold) เป็นการสนับสนุนของผู้ใหญ่ให่การช่วยเหลือกับเด็ก
- ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย

➤➤ เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย➤➤

เพลง...ขวด 5 ใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง...เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

   ช้างมีสี่ขา         ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา     สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา        สี่ขา  เท่ากัน
แต่กับคนนั้น      ไม่เท่ากันเอย

เพลง...บวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆสิเออ     ดูสิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ      นับดูสิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

การประเมิน

1. การประเมินตนเอง

            เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียนในคาบนี้ ทำให้ไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดในการเรียนเท่าที่ควร แต่ได้ทำการสอบถามจากเพื่อนว่าในวันนี้อาจารย์ผู้สอนได้สอนอะไรบ้าง

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

            อาจารย์ผู้สอนได้มีการใช้เทคนิคต่างๆในการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ มีการตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิดและได้ฝึกการตอบคำถาม
3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม
            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนของจอโปรเจ็กเตอร์มีปัญหาเล็กน้อย ทำให้มองด้วยความลำบาก

         ### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###



การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 2  วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน


    วันนี้เป็นการเข้าเรียนวันแรกของฉันกับการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียนได้ทำการเช็คชื่อนักศึกษา  และชี้แจงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับรายวิชา เกณฑ์การให้คะเเนนต่างๆ การเข้าห้องเรียน สามารถสายได้ ไม่เกิน 08.45 ไม่เช่นนั้นถือว่าสาย สาย 2 ครั้งถือว่าขาดเรียน  และได้แจกแนวการสอนให้กับนักศึกษา


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- การจัดประสบการณ์
- กรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์
- ความหมายของพัฒนาการ
- ความสำคัญของพัฒนาการ
- พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของเพียเจต์

   ความรู้ที่ได้รับ

- นิยามของการเล่น
 *การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้เกิด การเรียนรู้*
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ การลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างมีอิสระตามความสนใจของตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน
- ความสำคัญของพัฒนาการต่อผู้สอน คือ  ทำให้สามารถส่งเสริม ปรับปรุงเเก้ไขให้มีพัฒนาการที่
เหมาะสม และสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของเพียเจต์
1.อายุแรกเกิด- 2 ปี  พัฒนาการโดยการใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) เพื่อเก็บข้อมูลส่งไปยังสมอง ก่อให้เกิด การซึมซับ
2. อายุ2-7 ปี (Preperational Stage)
   - 2-4  ใช้คำได้เป็นคำสั้นๆ เป็นประโยคสั้นๆ ยังใช้เหตุผลได้ไม่ดี
   - 4-7   มีเหตุผล ใช้คำและประโยคที่ยาวขึ้น

   

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ได้มีการจดเนื้อหาที่ครูผู้สอนได้สอน มีการวิเคราะห์คำถามที่ครูผู้สอนถาม และมีการตอบคำถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่หันหน้าไปคุยกับเพื่อนที่นั่งด้านข้างบ้าง

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ในช่วงเเรกอาจจะยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คบ้าง แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ภายในห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์

การเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 1  วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน

 
    วันนี้เป็นวันแรกของการการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียน นักศึกษาอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับอาจารย์ผู้สอน เพราเป็นการเรียนครั้งแรกกับอาจารย์ท่านนี้ อาจารย์ผูสอนเลยได้ทำการสร้างความคุ้นเคยกับนักศึกษาด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และได้ชี้แจงแนวการสอน รายละเอียดของวิชา ว่าจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบใด


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- การสังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชา
- สิ่งที่ต้องคำนึงต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังจากรายวิชา
- มาตราฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- สังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชา ทำให้เราทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าสามารถแยกได้ ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์
2. วิชาคณิตศาสตร์
3. สำหรับเด็กปฐมวัย
- การจัดประสบการณ์ จำเป็นต้องคำนึงถึง พัฒนาการ ของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิด การเรียนรู้ เพราะการจัดประสบการณ์หรือการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
- สิ่งที่คาดหวังในรายวิชานี้ ในด้านต่างๆ อาจารย์ผู้สอนก็คาดหวังในตัวของผู้เรียน ผู้เรียนก็มีความคาดหวังต่อตัวผู้สอน
-หน่วยงานที่คอยควบคุมดูแล มาตราฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็คือ สสวท.

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

            เนื่องจากวันนี้ไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนในคาบเเรก ทำให้ไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดในการเรียนเท่าที่ควร อาศัยการฟังจากเพื่อนที่เข้าเรียนได้นำมาเล่าให้ฟัง และได้ทำการสอบถามรายละเอียดจากเพื่อนที่เข้าเรียน

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

            อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่ทราบ ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ มีการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนความคิดวิเคราะห์ และยังช่วยให้นักศึกษารู้จักการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องยังไม่มีอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ปากกาไวท์บอร์ด จึงทำให้อาจารย์ผู้สอน จัดการเรียนการสอนไม่ได้เต็มตามศักย์ภาพเท่าที่ควร

         ### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###