วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


    ประจำวัน พุธ ที่ 3 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

เนื่องจากการทำปฏิทินยังไม่สมบูรณ์จึงต้องมาทำเพิ่มเติม และเเก้ไขให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้ได้จริง
จากนั้นก็ได้นำเสนอสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่แต่ละกลุ่มได้ไปประดิษฐ์มา กลุ่มดิฉันได้ประดิษฐ์

"โดมิโนรูปเรขาคณิต"

อุปกรณ์ที่ใช้
-กระดาษเเข็ง
-รูปเรขาคณิตแบบต่างๆ
-กาว กรรไกร คัตเตอร์ กาวสองหน้า

วิธีการทำ
-ตั้ดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าให้มีขนาด ยาว 6 ซม. กว้าง 3 ซม.
- แล้วปริ้นรูปเรขาคณิตมาติดทั้งสองด้านให้มีลักษณะเป็นโดมิโน
- แล้วนำที่เคลือบมาเคลือบอีกชั้นนึง เพื่อเพิ่มความทนทานให้กับสื่อ

วิธีการเล่น
- ให้นำรูปที่เหมือนกันมาต่อในด้านที่เหมือนกัน เล่นในลักษณะของเกมโดมิโน

*เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตว่ามีลักษณะอย่างไร และเด็กยังจะสามารถได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจับคู่รูปภาพที่เหมือนกัน*

การนำไปประยุกต์ใช้

เนื่องจากสื่อนี้ยังไม่ได้ทำการนำเสนอจึงยังไม่ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ประจำวิชา

การประเมินผล

ตนเอง: เราได้ช่วยเพื่อนๆประดิษฐ์สื่อโดยการตัดการดาษ ติดกาว และเคลือแผ่นใส

เพื่อน: เพื่อนๆได้ช่วยกันทำสื่อจนเสร็จ แล้วก็นำสื่อไปเสนออาจารย์ประจำวิชา

อาจารย์: อาจารย์จะคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำสื่อว่ามีลักษณะอย่างไร เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยหรือไม่อย่างไร

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14


    ประจำวัน พุธ ที่ 26 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่มตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมาเป็นคนสอนและให้เพื่อนที่อยู่ในห้องแสดงเป็นเด็ก  ซึ่งมีหน่วยการสอนในแต่ละวัน ดังนี้
วันจันทร์ หน่วยการเรียนรุ้เรื่อง กระเป๋า(ชนิดของกระเป๋า)
วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน(ลักษณะบ้าน)
วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหะนะ(การดูเเลรักษายานพาหะนะ)
วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย(ประโยชน์ของกระต่าย)
วันศุกร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ(ข้อพึงระวังของเสื้อ)

การนำไปประยุกต์ใช้

แผนการสอนของแต่ละกลุ่มมีความหลากหลาย และได้เห็นแนวการสอนของแต่ละกลุ่มที่ได้ทดลองสอนจริง และอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงเเก้ไขเพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ตนเอง: เราได้เป็นตัวแทนกลุ่มที่ออกไปสอน ได้มีการเตรียมการสอนเพื่อที่จะได้สอนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

เพื่อน: เพื่อนได้ช่วยกันเตรียมสื่อเพื่อใช้ประกอบการสอน

อาจารย์: อาจารย์ได้แนะนำการสอนและได้ให้ข้อคิดต่างๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 ประจำวัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


    ประจำวัน พุธ ที่ 19 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของตนเองที่ได้ไปไปค้นคว้ามาแล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ว่าสื่อชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่ ว่าเเต่ละชิ้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร และสามารถนำมาจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างไร

หลังจากที่นำเสนอสื่อครบแล้วอาจารย์ก็ได้ให้เพื่อนๆที่ยังไม่ได้นำเสนอบทความ วิจัย และโทรทัศน์ครู ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ 

อาจารย์ได้ให้ตอบคำถามจำนวน 4 ข้อ ดังนี้
- การนับ
-การเเยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
-การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่่
-การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่าน้อยกว่า

การนำไปประยุกต์ใช้

สื่อคณิตศาสตร์ บทความ งานวิจัย วีดีโอการสอน และการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้เรียนในห้องเรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้และการเป็นครูในอนาคต

การประเมินผล

ตนเอง: เวลาที่เพื่อนนำเสนอสื่อก็สนใจฟังเพื่อนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน: เพื่อนก็ได้เตรียมตัวนำเสนอสื่อที่ตนเองได้ไปค้นคว้ามา

อาจารย์: อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอเเนะว่าสื่อชิ้นใดเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12


    ประจำวัน พุธ ที่ 5 เดือน เมษายน พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แนะนำเกมการศึกษาที่สามารถนำจากแบบฝึกหัดแล้วทำขึ้นมาให้เป็นเกมที่สามารถจับต้องได้ เช่น
1. จับคู่
-จับคู่ภาพเงา
-จับคู่ประเภทเดียวกัน
-จับคู่สิ่งที่เหมือน
2. เกมภาพตัดต่อ เกี่ยวกับ คน สัตว์ ผัก ผลไม้ ตัวเลข เป็นต้น
3. เกมวางภาพต่อปลาย(โดมิโน)
4.เกมลอตโต

การนำไปประยุกต์ใช้
 นำเกมการศึกษาในรูปแบบต่างๆมาประยุกต์เป็นคณิตศาสตร์ แล้วนำแนวคิดจากแบบฝึกหัดนำมาสร้างเป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ 

การประเมินผล

ตนเอง: สนใจสื่อที่อาจารย์นำมาเสนอเพราะเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำสื่อในอนาคต

เพื่อน: เพื่อนบางคนก็สนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอนสอน เเต่เพื่อนบางคนก็ยังไม่ค่อยสนใจเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเกมคณิตศาสตร์ให้ได้อย่างเข้าใจและเเนะนำวิธีการทำสื่ออย่างชัดเจน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 ประจำวัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11


    ประจำวัน พุธ ที่ 29 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย         อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
- ด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหวร่างกาย
- ด้านอารมณ์-จิตใจ สามารถรับรู้ความรู้สึกที่แสดงออกทางอารมณ์
- ด้านสังคม การช่วยเหลือตนเองได้ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม
- ด้านสติปัญญา ภาษา(การฟัง พูด อ่าน เขียน) คิด (สร้างสรรค์และมีเหตผล)

สาระที่เด็กควรเรียนรู้ :ประสบการณ์ที่สำคัญ
- ตัวเรา
-บุคคล สถานที่
-ธรรมชาติรอบตัว
-สิ่งเเวดล้อม
*โดยต้องคำนึกถึงเรื่องที่เด็กสนใจ เรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นเรื่องที่สำคัญกับเด็ก*

การประยุกต์ใช้

การจัดกิจกรรม 6 หลัก ได้จะต้องมีการวางแผน เขียนแผนก่อนที่จะนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการให้กับเด็กเพื่อวางรากฐานในอนาคต

การประเมินผล

ตนเอง: สนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนเป็นบางครั้ง แต่ก็มีการจดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอนบ้างในบางครั้ง

เพื่อน: เพื่อนบางคนให้ความสนใจในการเรียนเป็นบางส่วน บางส่วนก็ไม่ได้สนใจเรียนเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์ผู้สอนเป็นกันเองกับนักศึกษา มีแนวการสอนที่สามารถให้ความรู้แก่นักศึกษาได้อย่างทั่วถึง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


    ประจำวัน พุธ ที่ 22 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

** เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดภาระกิจจึงมีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียน**

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ประจำวัน พุธ ที่ 15เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์เเจกกระดาษให้ปั้นดินน้ำมันให้เป็นรูปทรงต่างๆ ในลักษณะสองมิติ  จากนั้นให้ทำเป็นรูปสามมิติแล้วนำรูปของตนเองไปประกอบกับเพื่อนอีก 1 คน แล้วสร้างขึ้นมาเป็นรูปทรงใหม่ จากนั้นนำไปวางไว้ในชั้นเรียน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต ว่าเเต่ละเเบบมีความแตกต่างกันอย่างไร 

การนำไปประยุกต์ใช้

จากการเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการนำไปสอนเด็ก เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต และสามารถได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสังเกต การเปรียบเทียบความเหมือนความต่าง รวมถึงการนับและการแทนค่า

การประเมินผล

ตนเอง: มีการทำกิจกรรมซึ่งทำให้เรามีความสนุกสนานมากกว่าการเรียนเเบบธรรมดา

เพื่อน: เพื่อนชอบการทำกิจกรรมมากกว่าการนั่งฟังแบบธรรมดา เพราะทำให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

อาจารย์: อาจารย์จะหากิจกรรมต่างๆมาให้นักศึกษาได้ทำอยู่เสมอ ทำให้การสอนไม่น่าเบื่อ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


    ประจำวัน พุธ ที่ 8 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตราฐาน ค.ป. 4.1


การนับจำนวนลูกอมและใช้ตัวเลขเป็นตัวกำกับ สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตราฐาน ค.ป. 1.1

ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีปากกาและดินสออยู่ทั้งหมด 10 แท่ง จะใช้เกณฑ์ว่า สิ่งที่สามารถใช้ยางลบ ลบได้ เด็กจะสังเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่าดินสอมีจำนวนมากกว่าจำนวนปากกา

**สื่อที่ควรจะใช้ได้หลายครั้ง และมีความทนทาน**

มีงานให้ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน และเเบ่งเป็นการสอนทั้งหมด 5 วัน โดยกำหนดหัวเรื่องให้สอดคล้องกับตัวเด็ก

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การนำสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันมาใช้ในการสอนคณิตศาสตร์ และต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และต้องสอดคล้องกับมาตราฐานการเรียนรู้

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียนบ้างคุยกับเพื่อนบ้างแต่ก็ยังสนใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอน เวลามีข้อสงสัยก็ได้ถามเพื่อแก้ไขข้อสงสัยทันที

เพื่อน: เพื่อนบางคนก็มีการตอบคำถามอาจารย์บ้าง แต่บางคนก็ไม่ได้สนใจในสิ่งที่อาจารย์ผู้สอน สอนเท่าที่ควร

อาจารย์: อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่      มีเเนวการสอนที่สามารถเข้าใจได้ง่าย