วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 3  วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30


ความรู้ที่ได้รับ

   การอนุรักษ์ (Conservation) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียงอย่างเดียว
→ การนับ
→จับคู่ 1ต่อ1
→ เปรียบเทียบรูปทรง
→ เรียงลำดับ
→ จับกลุ่ม
 สื่อสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นที่จะต้องมีความปลอดภัยและเหมาะสมกับการเรียนรู้


➤ เจอโรม บรูเนอร์ (Jerome Bruner)
     ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ได้แบ่งเป็น 3 ขั้นใหญ่ๆ ดังนี้
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ(Enavtive Stage) ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้โดยผ่านการกระทำ
2. ขั้นการเรียนรู้จากการคิด(Iconic Stage) สร้างมโนภาพในใจได้
3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม(Symbolic Stage) เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

➤เลฟ ไวก๊อตกี้ (Lev Vygotsky) 
     "เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขา และจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุนและเพิ่มพัฒนาการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ(Internalize)"
- เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มี สมรรถนะ(Competency)
- "นั่งร้าน"(Scaffold) เป็นการสนับสนุนของผู้ใหญ่ให่การช่วยเหลือกับเด็ก
- ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย

➤➤ เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย➤➤

เพลง...ขวด 5 ใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง

เพลง...เท่ากัน-ไม่เท่ากัน

   ช้างมีสี่ขา         ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา     สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา        สี่ขา  เท่ากัน
แต่กับคนนั้น      ไม่เท่ากันเอย

เพลง...บวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ      ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆสิเออ     ดูสิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ   หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ      นับดูสิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ

การประเมิน

1. การประเมินตนเอง

            เนื่องจากวันนี้ไม่ได้ไปเรียนในคาบนี้ ทำให้ไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดในการเรียนเท่าที่ควร แต่ได้ทำการสอบถามจากเพื่อนว่าในวันนี้อาจารย์ผู้สอนได้สอนอะไรบ้าง

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

            อาจารย์ผู้สอนได้มีการใช้เทคนิคต่างๆในการกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ มีการตั้งประเด็นคำถามให้นักศึกษาได้คิดและได้ฝึกการตอบคำถาม
3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม
            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนมีความพร้อมมากยิ่งขึ้น แต่ในส่วนของจอโปรเจ็กเตอร์มีปัญหาเล็กน้อย ทำให้มองด้วยความลำบาก

         ### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###



การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 2  วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน


    วันนี้เป็นการเข้าเรียนวันแรกของฉันกับการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียนได้ทำการเช็คชื่อนักศึกษา  และชี้แจงข้อปฏิบัติเกี่ยวกับรายวิชา เกณฑ์การให้คะเเนนต่างๆ การเข้าห้องเรียน สามารถสายได้ ไม่เกิน 08.45 ไม่เช่นนั้นถือว่าสาย สาย 2 ครั้งถือว่าขาดเรียน  และได้แจกแนวการสอนให้กับนักศึกษา


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- การจัดประสบการณ์
- กรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์
- ความหมายของพัฒนาการ
- ความสำคัญของพัฒนาการ
- พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของเพียเจต์

   ความรู้ที่ได้รับ

- นิยามของการเล่น
 *การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทำให้เกิด การเรียนรู้*
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ การลงมือปฏิบัติด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างมีอิสระตามความสนใจของตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
- พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับขั้นตอน
- ความสำคัญของพัฒนาการต่อผู้สอน คือ  ทำให้สามารถส่งเสริม ปรับปรุงเเก้ไขให้มีพัฒนาการที่
เหมาะสม และสามารถจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของเพียเจต์
1.อายุแรกเกิด- 2 ปี  พัฒนาการโดยการใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) เพื่อเก็บข้อมูลส่งไปยังสมอง ก่อให้เกิด การซึมซับ
2. อายุ2-7 ปี (Preperational Stage)
   - 2-4  ใช้คำได้เป็นคำสั้นๆ เป็นประโยคสั้นๆ ยังใช้เหตุผลได้ไม่ดี
   - 4-7   มีเหตุผล ใช้คำและประโยคที่ยาวขึ้น

   

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ได้มีการจดเนื้อหาที่ครูผู้สอนได้สอน มีการวิเคราะห์คำถามที่ครูผู้สอนถาม และมีการตอบคำถามบ้างเป็นบางครั้ง แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่หันหน้าไปคุยกับเพื่อนที่นั่งด้านข้างบ้าง

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ในช่วงเเรกอาจจะยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คบ้าง แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ภายในห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์

การเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 1  วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน

 
    วันนี้เป็นวันแรกของการการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เมื่ออาจารย์เข้ามาในห้องเรียน นักศึกษาอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับอาจารย์ผู้สอน เพราเป็นการเรียนครั้งแรกกับอาจารย์ท่านนี้ อาจารย์ผูสอนเลยได้ทำการสร้างความคุ้นเคยกับนักศึกษาด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ และได้ชี้แจงแนวการสอน รายละเอียดของวิชา ว่าจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบใด


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- การสังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชา
- สิ่งที่ต้องคำนึงต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังจากรายวิชา
- มาตราฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- สังเคราะห์ความหมายของชื่อวิชา ทำให้เราทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่าสามารถแยกได้ ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์
2. วิชาคณิตศาสตร์
3. สำหรับเด็กปฐมวัย
- การจัดประสบการณ์ จำเป็นต้องคำนึงถึง พัฒนาการ ของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิด การเรียนรู้ เพราะการจัดประสบการณ์หรือการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ
- สิ่งที่คาดหวังในรายวิชานี้ ในด้านต่างๆ อาจารย์ผู้สอนก็คาดหวังในตัวของผู้เรียน ผู้เรียนก็มีความคาดหวังต่อตัวผู้สอน
-หน่วยงานที่คอยควบคุมดูแล มาตราฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็คือ สสวท.

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

            เนื่องจากวันนี้ไม่สบายจึงไม่ได้ไปเรียนในคาบเเรก ทำให้ไม่ค่อยได้รู้รายละเอียดในการเรียนเท่าที่ควร อาศัยการฟังจากเพื่อนที่เข้าเรียนได้นำมาเล่าให้ฟัง และได้ทำการสอบถามรายละเอียดจากเพื่อนที่เข้าเรียน

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

            อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายในสิ่งที่นักศึกษาไม่ทราบ ช่วยสร้างความเข้าใจให้กับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ มีการตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนความคิดวิเคราะห์ และยังช่วยให้นักศึกษารู้จักการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องยังไม่มีอุปกรณ์ต่างๆที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ปากกาไวท์บอร์ด จึงทำให้อาจารย์ผู้สอน จัดการเรียนการสอนไม่ได้เต็มตามศักย์ภาพเท่าที่ควร

         ### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###