วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่7 วันพุธ ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


    ประจำวัน พุธ ที่ 15 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ในสัปดาห์นี้เป็นการเข้าชมนิทรรศการที่จัดแสดงโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
• ความรู้ที่ได้รับ

1. การเรียนแบบ Project Approach
- เด็กสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
- หลักการ STEM
คือ S = วิทยาศาสตร์ ( กระบวนการทำ ดังนี้ สำรวจปัญหา ตั้งสมมติฐาน ทดลอง พิสูจน์ )
      T = เทคโนโลยี ( การใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้ามีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรม )
      E = การออกแบบ ( การวางแผน การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม )
      M = คณิตศาสตร์ ( การบูรณาการทักษะทางคณิตศาสตร์กับการปฏิบัติกิจกรรม เช่น การตวงส่วนผสม )
- ในหลวงรัชการที่ 9 ทรงพระราชทานเมนู
" ไข่พระอาทิตย์  "ให้กับพระโอรสและพระธิดา
- การเรียนแบบ โปรเจค นั้นต้องใช้เวลาในการเรียนเป็นแบบระยะยาว เนื่องจากเด็กจะได้ศึกษาเรื่องราวที่ต้องการศึกษาจนถ่องแท้ ต้องศึกษาหาคำตอบ ตลอดจนลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้คำตอบ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ และ คอยอำนวยความสะดวกให้

2. สื่อนวัตกรรมการศึกษา
- สื่อมอนเตสเซอรี่
มีดังนี้ คือ 1) ภาษา : เริ่มจากการให้เด็กใช้การสัมผัส
                2) ชีวิตประจำวัน : ฝึกทักษะต่างๆที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเรียงลำดับ
                3) คณิตศาสตร์ : เน้นทักษะการแก้ปัญหาและต้องแก้จนสำเร็จจึงจะเปลี่ยนสื่อได้
- สื่อการสอน : มีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่หน่วยการเรียนรู้ที่จัดให้กับเด็ก ครูต้องดูความเหมาะสมในด้านต่างๆทั้ง วัย พัฒนาการ และ ความปลอดภัย
- สื่อที่มีคุณภาพ คือ ต้อวผ่านการเล่นของเด็ก

3. แผนการจัดการเรียนรู้
- แผนการสอนของแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสังกัดของโรงเรียนนั้นๆ เช่น โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสังกัดรัฐบาล โรงเรียนสังกัด สพฐ.
- ในการจัดการเรียนรู้ 1 วัน ประกอบด้วย 6 กิจกรรมหลัก แต่ละกิจกรรมสามารถยืดหยุ่นเวลาได้ และต้องมีการบูรณาการทักษะต่างๆสอดแทรกลงไปมนทั้ง 6 กิจกรรม
- แผนการสอนในแต่ละกิจกรรมมุ่งพัฒนาทักษะที่ต่างกัน เช่น กิจกรรมกลางแจ้ง เน้นพัฒนาร่างกาย
กิจกรรมเกมการศึกษา เน้นพัฒนาด้านสติปัญญา

4. วิจัย
* เนื่องจากวันที่เข้าชมนิทรรศการ ฐานวิจัย ยังไม่พร้อมที่จะให้ความรู้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการเตรียมตัว จึงไม่มีข้อมูลที่บันทึก

• การประเมินผล
ตนเอง : มีความสนใจในฐาน การสอนแบบโปรเจค เนื่องจากมีการวางโครงการ และขั้นตอนต่างๆอย่างเห็นได้ชัด มีการสาธิตวิธีการสอนที่เหมือนจริง จึงมีความสนใจเป็นพิเศษ

อาจารย์ : มีการสรุปองค์ความรู้จากการเข้าชมนิทรรศการ ทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 6วัน พุธ ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6วัน พุธ ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
• ความรู้ที่ได้รับ

1. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้(ต่อจากคาบที่แล้ว)
1.1 สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต  ที่เกิดจากการกระทำ
- ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
: การบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ
- รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
: ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย
: รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
: การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติ
: การสร้างสรรค์ศิลปะสองมิติและสามมิติ

1.2 สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป.4.1 แบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
1.3 สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
- การเก็บรวบรวมและการนำเสนอ
: การนำเสนอข้อมูลรูปแผนภูมิอย่างง่าย
1.4 สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

• การประเมินผล
ตนเอง : มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น และเชื่อมโยงความรู้ต่างๆในการเรียน มีการจดบันทึกและร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างตั้งใจ

อาจารย์ : มีการเน้นยำ้ประเด็นสำคัญ ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ อยู่ตลอดเวลา มีบางครั้งพูดเร็วทำให้ฟังไม่ทันบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 5  วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
- สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
    มีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
1. ความรู้ทางกายภาพ(Physical Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกตุ การรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. ความรู้ทางสังคม(Social Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
3. ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์(Logicaimathematic Knowledge) การเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆจากการสังเกตุ สำรวจ ทดลอง เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
4. ความรู้เชิงสัญลักษณ์(Symbonic Knowledge) การแสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน

- สาระเเละมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
   ➤ มาตราฐานเป็นแบบประเมินขั้นต่ำ ใช้ในการประเมินและตัดสินใจ
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินงาน(มาตราฐาน ค.ป.1.1) เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮินดูอารบิกมาเป็นตัวกำกับ แล้วนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
  จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณได้
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
- การเรียงลำดับจำนวน
   การรวมและการแยกกลุ่ม
- ความหมายของการรวม
          การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันและสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
- ความหมายของการจำแนก
           การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่
สาระที่ 2   การวัด (มาตราฐาน ค.ป. 2.1) เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง...ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรง     ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน     หันตัวไปทางนั้นแหละ    

เพลง...นกกระจิบ
นั้นนก    บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ    1 2 3 4 5           
อีกฝูงบินล่องลอยมา     6 7 8 9 10 ตัว                     



การประเมิน

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ไม่ได้มาเรียนจึงได้ทำการสอบถามข้อมูลจากเพื่อนที่เข้าเรียน เมื่อได้ข้อมูลก็นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำองค์ความรู้ที่ได้

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ในช่วงเเรกอาจจะยังมีปัญหาในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คบ้าง แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ภายในห้องเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้การเรียนการสอนไม่ค่อยเป็นไปตามวัตถุประสงค์

### เนื่องจากไม่ได้เข้าเรียนในสัปดาห์นี้ จึงได้นำข้อมูลมาจาก นางสาวณัชชา เศวตทวี ###

การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 4  วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560 เวลา 08.30-12.30



บรรยากาศในห้องเรียน


    วันนี่การเรียนการสอนมีความเป็นกันเองมากขึ้น ครูผู้สอนได้เริ่มต้นการสอนด้วยการให้นักศึกษาออกมานำเสนอ บทความ คลิปวิดีโอ และผลงานวิจัดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เกิดองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น


เรื่องที่เรียนและความรู้ที่ได้รับ


  เรื่องที่เรียน

- ความหมายของคณิตศาสตร์
- ความสำคัญของคณิตศาสตร์
- ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
- เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

   ความรู้ที่ได้รับ

- ความหมายของคณิตศาสตร์  
          คือ วิชาที่ว่าด้วยการคำนวนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การนับ การคำนวน การประมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเอง แล้วจึงค่อยๆพัฒนามาเป็นความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

-  ความสำคัญของคณิตศาสตร์
           คือ คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นการคิดที่เกี่ยวกับเหตุและผลสามารถพิสูจน์ได้ ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างสรรค์ให้เกิดความรอบครอบสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

- ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
           คือ คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็กแล้วนำความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตของเด็กเองได้

- ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
          คือ  การนับ การจับคู่ การแบ่งประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ รูปทรง การวัด เซต เศษส่วน การทำตามแบบหรือลวดลาย การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
   ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
           เป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักการเเก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวนและอื่นๆ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น    รู้จักการสังเกตุ การเปรียบเทียบ ซึ่งจะช่วยขยายประสบการณ์ของเด็กที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็ดเกิดความเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง...นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน    มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว     มือขวาก็มีห้านิ้ว  
นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า             ต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนับจงอย่ารีบ                นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง...ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้     น้องขอให้แบ่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป    นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(นับลดลงเรื่อยๆ)

เพลง...แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)

การประเมินผล

1. การประเมินตนเอง

           วันนี้ได้มีการจดเนื้อหาที่ครูผู้สอนได้สอน มีการวิเคราะห์คำถามที่ครูผู้สอนถาม และมีการตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน แต่ก็มีบางช่วงเวลาที่หันหน้าไปคุยกับเพื่อนที่นั่งด้านข้างบ้าง และเมื่อเกิดข้อสงสัยใดก็จะถามอาจารย์ผู้สอนทันที

2. การประเมินอาจารย์ผู้สอน

           อาจารย์สามารถอธิบายเนื้อหาการสอนได้อย่างดี มีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มีการเว้นช่วงเวลาให้นักศึกษาได้คิดได้ตอบคำถาม และเมื่อนักศึกษาคนใดเกิดข้อสงสัยอาจารย์ผู้สอนก็จะอธิบายทันทีเพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ

3. การประเมินสภาพแว้ดล้อม

            สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน เกิดปัญหาจากการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทำให้ข้อมูลบางข้อมูลที่อาจารย์ผู้สอนต้องการค้นหานั้นทำได้ยาก